วัดธาตุดำ (คำ)
วัดธาตุดำ (คำ) ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๘ หมู่ที่ ๑ ณ บ้านศรีเชียงใหม่ ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
วัดธาตุดำ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๔(จุลศักราช ๙๒๓ หรือราว ค.ศ ๑๕๕๑) ที่อ้างอิงจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๑๐ ของกรมการศาสนาประกาศไว้ และตามหนังสือพงศาวดารเดิมของลาวได้กล่าวอ้างอิงเอาไว้เช่นกัน ที่เป็นฉบับภาษาไทยและเรียบ เรียงโดยท่านมหาศิลาวีระพงศ์ พอสังเขปได้ใจความดังนี้.-ว่าในสมัยหนึ่งนั้น ได้มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นในอาณาเขตบริเวณที่ดินใกล้เคียงกันมีอยู่ ๒ องค์ คือเจดีย์ขาว (เงิน) และเจดีย์คำ(ดำ) และวัดพระธาตุทั้งสององค์นี้ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นผู้ปกครองนครวียงจันทน์เขตอาณาจักรล้านช้างในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้คือประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากที่ขึ้นปกครองนครเวียงจันทน์ พร้อมกับการปก ป้องและปราบปรามข้าศึกศรัตรูและกบฏ จนเป็นที่สงบและอยู่ดีกินดีร่มเย็นเป็นสุขของปวงประชาชนทั่วราชทุกเขตแดนแล้วพระองค์ก็ได้ทรงดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนาให้ฝั่งรกรากอยู่ผืนแผ่นดินของตน จึงได้ทรงพระราชทูตไปกราบอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ที่ทรงรักษาพระศาสนาจากทางกรุงศรีอยุธยาของประเทศไทย เพื่อให้ท่านได้นำพระธรรมคำสอนทางพระ พุทธศาสนามาเผยแพร่ที่เมืองหลวงพระบางตลอดถึงนครเวียงจันทน์ และยังได้อัญเชิญเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ จากประเทศศรีลังกาและพม่า นำมาประดิษฐานบรรจุไว้ตามพระธาตุเจดีย์วัดต่าง ๆให้เป็นสักการะเคารพกราบไหว้ของชาวพุทธศา
สนิกชนทั้งหลาย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐานี้ พระพุทธ ศาสนาในประเทศลาวมีความเจริญรุ่งเรืองกว้างขวางมาก ๆทั้งในตัวเมืองหลวงและตามหัวเมืองต่าง ๆ เต็มไปด้วยวัดวาอารามและพระธาตุเจดีย์ที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้จัดประดับตกแต่งไว้วิจิตรพิสดารสวยงามมากๆนอกจากการเสริมสร้างสถานที่ราชการและวัดวาอารามต่างๆแล้วพระองค์ยังมีพระราชศรัทธาได้สร้างหรือทรงโปรดให้ช่างผู้ชำนาญหล่อด้วยโลหะหรือปั้นพระพุทธรูปปรางค์ต่างๆ ที่สำคัญขึ้นอีกเป็นจำนวนมากหลายองค์ เช่นพระเจ้าองค์ตื้อ,พระสุก,พระเสริม,และพระใส เป็นต้น ในสมัยนั้นตามนานกล่าวไว้ว่า ในเขตปกครองทั่วประเทศ มีวัดที่ทรงร่วมและเป็นประธานนำก่อสร้างไว้จำนวนถึง ๑๒๐ วัดหนึ่งในจำนวนที่กล่าวไว้นั้น ก็มีวัดพระธาตุดำแห่งนี้รวมอยู่ด้วย แต่เดิมเรียก ชื่อว่าพระธาตุคำ เพราะในองค์เจดียาตุนั้น นอกจากจะได้บรรจุพระอรหันตธาตุแล้ว ยังได้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ ล้วนได้ทำขึ้นจากโลหะทองคำ,ทองเหลืองบ้างหรือทองผสมบ้างตามที่ผู้มีศรัทธาได้ร่วมบริจาคสมทบถวายมา เช่นต้นโพธิ์ทอง ผอบทองคำที่ใช้ใส่บรรจุพระอรหันตธาตุและอื่น ๆ อีกมากมาย ฯ ครั้นต่อมาเมื่อหลายปีพร้อมความเก่าแก่และมีซากวัชพืชปกคุมหรือตะไคร่จับเต็มไปหมดสีอาจจะเปลี่ยนไปนานเข้าก็เลยมองดูเป็นสีดำ เมื่อมองดูเป็นสีดำ ชาวบ้านก็เลยเรียกตามที่เห็นว่า พระธาตุดำ จนเป็นที่รู้จักกันมา ถึงทุกวันนี้ นับว่าพระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถ และทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลที่ได้ทรงสร้างมหากุศลและพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติและพระศาสนา ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้พบเห็นเป็นประจักษ์ตราบเท่าจน ถึงปัจจุบันนี้ จนมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมโทรมผุพังไปตามอายุและกาลเวลา จน กระทั่งต่อมาได้มีการบูรณะบำรุงซ่อมแซมรักษาต่อเติมขึ้นมาใหม่อีก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยมีท่านเจ้ากรมพระยาศักดิ์พลเสน ซึ่งได้ยกพลมาปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ และตั้งค่ายทัพหลวงอยู่ด้านหลังวัดพระธาตุดำ ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่ราชพัสดุหรือค่ายหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๕ เขตของจังหวัดหนองคาย และพระอุโบสถหลังเก่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีก เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๑๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร และต่อมาได้เกิดชำรุดทรุดโทรมผุพังไปตามกาลเวลาที่มีอายุเก่าแก่มากจนไม่สามารถจะใช้ประกอบศาสนกิจของสงฆ์ได้ต่อไป เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ทางคณะสงฆ์ซึ่งมี พระอธิ การสุพจน์ อธิปฺญโญ ผู้เป็นเจ้าอาวาสและคณะกรรมการชาว บ้านศรีเชียงใหม่ หมู่ที่ ๑ จึงได้พร้อมใจกันทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่และขยายให้ใหญ่กว่าหลังเดิม และอยู่บริเวณที่เดิม ซึ่งได้อาศัยแรงศรัทธาจากหน่วยราชการต่าง ๆ บ้างและสาธุชนชาวอำเภอศรีเชียงใหม่และตลอดจนสาธุชนผู้ใจบุญทั้ง หลายที่อยู่ใกล้ไกลและต่างจังหวัดด้วย ให้ ความอุปถัมภ์ร่วมบริจาคทำกันตามกำลังศรัทธา จนเมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านเจ้าอาวาสได้ถึงแก่มรณภาพไป จึงเป็นเหตุให้ว่างเจ้าอาวาสลงและขาดผู้ดูแลรักษาและพิจารณาดำเนินการก่อสร้างอุโบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะพึงก่อสร้างได้เพียง เจ็ดสิบเปอร์เซนต์เท่านั้นจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการจัดแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่แทนรูปเดิม จึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมาใหม่มีนามว่า พระครูประภากรกิตติคุณ (สุวรรณ ปภากโร) เพื่อให้ท่านได้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอุโบสถที่ยังไม่เสร็จให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ดีจนสามารถใช้ปฏิบัติงานและประกอบศาสนกิจสังฆกรรมของสงฆ์ได้ดีามปกติ รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นรวมประมาณ ๗,๓๗๕.๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านสามแสนเจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ต่อมาจึงมีมติเห็นสมควรให้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาฉบับใหม่เพื่อเก็บไว้เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญต่อไป และได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้วัดธาตุดำ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ที่ประกาศไว้ ณ
วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้รับสนองพระราชโองการ
คือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม.
ด้านการปกครองคณะสงฆ์ภายในวัด
มีเจ้าอาวาสที่ทราบนาม ดังนี้.-
รูปที่ ๑ พระจอมเพชร จนฺทธมฺโม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๙ - ๒๔๘๒
รูปที่ ๒ พระปัน สมฺปนฺโน
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๐๐
รูปที่ ๓ พระอธิการคำภา ถาวโร
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐
รูปที่ ๔ พระอาจารย์สอน ฐิติญาโณ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔
รูปที่ ๕ พระอาจารย์ชม ชยธมฺโม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔
รูปที่ ๖ พระครูโพธิพิทักษ์
(สุพจน์ อธิปญฺโญ)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๓๙
รูปที่ ๗ พระครูประภากรกิตติคุณ (สุวรรณ ปภากโร)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบันนี้
วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้รับสนองพระราชโองการ
คือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม.
ด้านการปกครองคณะสงฆ์ภายในวัด
มีเจ้าอาวาสที่ทราบนาม ดังนี้.-
รูปที่ ๑ พระจอมเพชร จนฺทธมฺโม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๙ - ๒๔๘๒
รูปที่ ๒ พระปัน สมฺปนฺโน
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๐๐
รูปที่ ๓ พระอธิการคำภา ถาวโร
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐
รูปที่ ๔ พระอาจารย์สอน ฐิติญาโณ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔
รูปที่ ๕ พระอาจารย์ชม ชยธมฺโม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔
รูปที่ ๖ พระครูโพธิพิทักษ์
(สุพจน์ อธิปญฺโญ)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๓๙
รูปที่ ๗ พระครูประภากรกิตติคุณ (สุวรรณ ปภากโร)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบันนี้